กำแพงในซอยและรั้วในใจ การปรับแนวคิดในการฟื้นฟูเมือง

กำแพงในซอยและรั้วในใจ การปรับแนวคิดในการฟื้นฟูเมือง

กำแพงในซอยและรั้วในใจ การปรับแนวคิดในการฟื้นฟูเมือง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ
ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โทร: 02 2184444 / อีเมล์: khaisri.p@chula.ac.th

บทคัดย่อ
การสร้างให้เกิดชุมชนผสมผสานของกลุ่มคนหลากหลายประเภทตามอุดมคติของแนวคิดในการ ฟื้นฟูเมือง นำไปสู่การเกิดขึ้นของปรากฏการณ์ “ชุมชนล้อมรั้ว” (gate communities) และ “ชุมชน เสมือน” (virtual communities) ในปัจจุบัน ทั้งนี้ เนื่องจากกลยุทธ์ในการต่อรองของคนกับสภาพ ของการต้องอดทนอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างนั้น มีความซับซ้อนเกินกว่าที่จะแก้ไขด้วย การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของพื้นที่แต่เพียงอย่างเดียว การเกิดขึ้นของ “ชุมชนล้อมรั้ว” ใน รูปแบบของความตั้งใจสร้างพื้นที่ปิดล้อมเฉพาะกลุ่มของตนโดยการแยกตัวออกจากเมืองโดยการ สร้างกำแพง และ “ชุมชนเสมือน” ในรูปแบบของความอดกลั้นต่อความแตกต่าง หากแต่ไม่ยอมรับ หรือใยดีผู้อื่นแม้อยู่ร่วมในพื้นที่เดียวกัน ล้วนแสดงให้เห็นว่า แนวคิดของการฟื้นฟูเมืองอย่างร่วม สมัยต้องอาศัยความละเอียดอ่อน และไม่สามารถทำเป็นสูตรสำเร็จอย่างง่าย หรือเป็น มาตรฐานสากลที่บังคับใช้ในทุกบริบทได้

คำสำคัญ
การฟื้นฟูเมือง / ชุมชนล้อมรั้ว / ชุมชนเสมือน

แนวคิดของการฟื้นฟูเมือง ล้วนมีวัตถุประสงค์พื้นฐานในการปรับเปลี่ยน “พื้นที่” (space) ที่มีความ เสื่อมโทรมทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม ให้กลายเป็น “ถิ่นที่” (place) ที่มีคุณภาพและ ความหมาย เป็นสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่องและยั่งยืนทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ สามารถดึงดูดกลุ่มคนหลากหลายที่มีความแตกต่างทางฐานะ อาชีพ สถานภาพ ให้กลับคืนสู่พื้นที่ ในเมืองเพื่ออยู่ร่วมและพึ่งพากันอย่างผสมผสานกลมกลืน ความคาดหวังอันเป็นอุดมคติของการ สร้างพื้นที่ใหม่ในนามของ “การฟื้นฟูเมือง” นี้ ในหลายกรณีอาจดูเหมือนว่า ความตั้งใจที่จะสลาย ขั้วความแตกต่างโดยการสร้างโอกาสให้โลกของกลุ่มคนเหล่านั้นมาแตะกัน จะประสบความสำเร็จ เกิดเป็นพื้นที่ที่เอื้อต่อวิถีชีวิตอย่างสันติและมีเอกภาพ หากแต่ความเป็นจริงในหลายกรณีเช่นกัน พบว่าในที่สุดแล้วผู้คนยังคงสร้าง “กำแพง” เพื่อกั้นตนเองไว้จากผู้อื่นที่เห็นว่า “แตกต่าง” ไปจาก ตนโดยผ่านกลวิธีในสองลักษณะได้แก่

ลักษณะแรก กลุ่มคนปฏิเสธความแตกต่างโดยสิ้นเชิงและจัดตั้งอาณาเขตใหม่ขึ้นในที่สุดเพื่อทั้ง “ป้องกัน” และ “ปกป้อง” ตนและผลประโยชน์แห่งตน ด้วยการสร้างกำแพงขึ้นล้อมรอบ “ชุมชน” พวกเดียวกัน เกิดเป็นปรากฏการณ์ของ “ชุมชนล้อมรั้ว” (gate communities) ขึ้นทั่วไปในเมือง

ลักษณะที่สอง เป็นแบบที่ยืดหยุ่นและพรางตัวกว่า กล่าวคือ ผู้คนยังคงอยู่ร่วมกันอย่างใกล้ชิดใน พื้นที่เดียวกัน แต่เลือกที่จะสงวนอัตลักษณ์ที่แตกต่างโดยการหลีกเลี่ยงไม่แสดงออก อีกนัยหนึ่ง เลือกที่จะไม่ต่อต้านหรือปฏิเสธความแตกต่าง แต่ก็ไม่ได้ยอมรับจนถึงขั้นคบหาสมาคมกัน สร้าง “รั้ว” ในจินตคติเป็นสิ่งกีดกั้นความสนิทใจ ถึงดูเสมือนเป็นชุมชนแต่ก็ไม่ใช่ เกิดเป็นปรากฏการณ์ของ
“ชุมชนเสมือน” (virtual communities)

ชุมชนล้อมรั้วและกำแพงในซอย
Sennet (1971) เป็นผู้แรกที่เรียกพื้นที่ชุมชนที่มีการล้อมรั้วหรือสร้างกำแพงเพื่อแบ่งกั้นตนเองออก จากพื้นที่อื่นๆ ของเมืองว่า “purified communities” ซึ่งอาจแปลความหมายได้ว่าเป็น “ชุมชนไร้สิ่ง แปลกปลอม” ในหนังสือ The Uses of Disorder Sennet ตั้งข้อสังเกตุนานาประการเกี่ยวกับการ แสดงอัตลักษณ์และชีวิตของคนในเมือง ในตอนหนึ่งได้กล่าวถึงประเด็นที่การพัฒนาเมืองใน รูปแบบของการสร้างชุมชนปิดล้อมแบบบ้านจัดสรรสำหรับคนเฉพาะกลุ่ม เป็นกลไกที่นำไปสู่ ปัญหาหลักของการกีดขวางโครงข่ายทางสัญจรของเมืองในภาพรวม ซึ่งเป็นการชี้ประเด็นปัญหา ในเชิงสัณฐานของเมืองอย่างชัดเจน ประกอบกับปัญหาเชิงสังคมที่ชุมชนล้อมรั้วเหล่านี้สร้างให้ เกิดผลที่ตรงข้ามกับแนวคิดดั้งเดิมของการสร้างชุมชนผสมผสานขึ้นในเมือง ชุมชนล้อมรั้วเป็น ปฏิกิริยาของความหมดความอดทนอดกลั้นของคนกลุ่มหนึ่งๆ ต่อ “ความแตกต่าง” ของคนกลุ่ม อื่นๆ ในเมือง จนไม่สามารถอยู่ร่วมในสภาพแวดล้อมเดียวกันได้โดยสิ้นเชิง

ความต้องการของกลุ่มคนจำนวนมากในการสร้างพื้นที่ปิดล้อมแบบเอ็กคลูซีฟ นำไปสู่ ปรากฏการณ์ของการแบ่งแยกเชิงพื้นที่ (spatial segregation) ขึ้นในเมืองอย่างมากมาย ใน ขณะเดียวกันก็ก่อให้เกิดพื้นที่ “ชายขอบ” ขึ้นมากมายเช่นกันโดยเป็นพื้นที่เหลือเศษระหว่างพื้นที่ ปิดล้อมเหล่านั้น ซ้ำเติมไปบนปัญหาเดิมที่สิ่งกีดขวางถาวร เช่น ทางด่วน รางรถไฟ พื้นที่ อุตสาหกรรมเก่า ฯลฯ ได้สร้างรอยแบ่งของเนื้อเมืองมายาวนานก่อนหน้านี้จนทำให้พื้นที่ทั้งสองฝั่ง มีวิวัฒนาการที่แปลกแยกแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงทางสังคมและเศรษฐกิจในหลายๆ ที่ ไม่นับรวมถึงองค์ประกอบเล็กน้อยอื่นๆ เช่น ป้ายสัญลักษณ์ ป้ายบอกทาง รูปแบบทางสถาปัตยกรรม รวมทั้งสภาพถนนและอุปกรณ์ประกอบต่างๆ ที่ปรากฏอย่างชัดเจนว่าได้รับการสนับสนุนจาก งบประมาณที่แตกต่างกันอย่างมาก ซึ่งในบางที่นั้น สื่ออย่างชัดเจนถึง “อาณาเขต” ของชนชั้น ต่างๆ โดยเฉพาะด้วย ที่สำคัญก็คือ การกระจายทรัพยากรที่ไม่เท่าเทียมกันนี้ ยังเอื้อให้กลุ่มคนมี ฐานะและสถานภาพที่สูงกว่าทางสังคมสามารถแบ่งกั้นตนเองออกจากกลุ่มคนอื่นๆ รอบข้างได้ สะดวกมากขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม การสร้างพื้นที่ปิดล้อมอาจเกิดจากกลุ่มคนที่มีฐานะหรือสถานภาพที่ต่ำกว่าก็ได้ เพื่อ ป้องกันตนเองจากการดูแคลนและเอารัดเอาเปรียบจากผู้ที่เหนือกว่าทางสังคมหรือการปกครอง การสร้างแนวร่วมจึงเป็นสิ่งที่พบได้เสมอในทุกสถานภาพของชุมชน ถึงแม้ว่าสำหรับผู้ที่ด้อยกว่า นั้น การปิดกั้นตนเองจะเกิดจาก “ความจำเป็น” มากกว่าเกิดจาก “ความตั้งใจ” ก็ตาม

ความตั้งใจที่จะสร้างอาณาเขตของชนชั้นที่เหนือกว่าจึงกลายเป็นประเด็นสำคัญของการสร้าง ชุมชนล้อมรั้ว เพราะความสามารถในการ “กำหนด” แนวเขตเพื่อ “จำกัด” ว่าใครบ้างที่จะได้รับ อนุญาตให้เข้าหรือออกจากพื้นที่นี้ได้นั้น ถือเป็นปรากฏการณ์ที่ไม่ธรรมดา ปรากฏการณ์ของชุมชน ล้อมรั้วในรูปแบบของโครงการจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูงนี้ แพร่หลายอย่างมากมายในสหรัฐอเมริกาช่วงปี 1970s (พ.ศ.2513-2522) และประเทศไทยในราว พ.ศ.2530 ลักษณะร่วมที่เหมือนกัน คือ พื้นที่ปิดล้อมเหล่านี้ตั้งใจให้ได้รับการออกแบบและวางผัง โดยคำนึงถึงบรรยากาศภายในพื้นที่เป็นหลัก โดยเฉพาะต้องเน้นให้สภาพชีวิตเมืองธรรมดาทั่วไป บนถนนภายนอกถูกลบออกไปจากสายตาของผู้อยู่อาศัยภายในกำแพง ในปัจจุบัน การปิดกั้นยัง ถูกกำกับอีกชั้นด้วยระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดและยาม ในนามของ “การรักษาความปลอดภัย” การเข้า-ออก รวมทั้งการสัญจรภายในถูกสอดส่องดูแล ภายใต้การสร้างความมั่นใจว่า เฉพาะกลุ่ม คนพิเศษจำนวนหนึ่งเท่านั้น (ที่ชัดเจนและสะดวกที่สุดคือ ผ่านการคัดกรอง “ฐานะ”) ที่ได้รับ อนุญาตให้เข้ามาอยู่ร่วมในรั้วเดียวกันได้ โดยประกอบกับการขานรับตนเองว่าเป็นหนึ่งใน “สมาชิก ภาพ”

ชุมชนล้อมรั้วกลายเป็นปรากฏการณ์สามัญของกรุงเทพฯ เช่นเดียวกับเมืองทั้งหลายในอเมริกา รวมทั้ง อิสตันบูล เม็กซิโกซิตี้ จาการ์ตา เซาเปาโล ฯลฯ กรุงเทพฯ มีโครงการบ้านจัดสรรที่มี ลักษณะเป็นชุมชนล้อมรั้วตามนิยามข้างต้น กว่า 4,000 โครงการในปัจจุบัน ในเชิงสัณฐาน พื้นที่เหล่านี้ล้วนก่อให้เกิดการกั้นแบ่งพื้นที่เมืองออกเป็นกระเปาะเล็กๆ หรือเป็นพื้นที่ปลายตันที่ ส่วนมากมีทางเข้าออกทางเดียวหรือสองทางเพื่อประโยชน์ของการคงสภาพความเป็นส่วนตัว เฉพาะกลุ่ม และการรักษาความปลอดภัย โดยที่สาธารณะไม่สามารถเข้าถึงเพื่อผ่านไปยังพื้นที่อื่น ได้ ผลที่ตามมาก็คือ พื้นที่เหล่านี้ระบายปริมาณการจราจรออกสู่ถนนสายหลักเพียงไม่กี่เส้นใน สภาพปัญหา “แบบคอขวด” (Kasemsook, 2003)

โครงการบ้านจัดสรรเหล่านี้ มักมีการโหมโฆษณาที่สัญญาถึงวิถีชีวิตแบบเอกคลูซีฟ นำเสนอ ทางเลือกของการอยู่อาศัยในพื้นที่ที่ถูกออกแบบให้มีทุกสิ่งที่สภาพแวดล้อมธรรมดาในเมืองไม่ สามารถมีให้ได้ ชีวิตสงบสุข ปลอดภัย ระยะทางไกลจากศูนย์กลางเมืองนั้นถูกเน้นว่าไม่ใช่ปัญหา เพราะชุมชนนี้ถูกสร้างให้มีทุกสิ่งทุกบริการแบบพึ่งพาตนเองเป็นศูนย์ครบวงจร และเฉพาะสำหรับ คนในเท่านั้น

ความสำเร็จของวงการอสังหาริมทรัพย์สำหรับโครงการเหล่านี้เป็นเครื่องพิสูจน์ว่า กลุ่มชนชั้นกลาง และสูงมีความฝันในภาพตรงกันกับที่ผู้ประกอบการเสนอให้ บ่งบอกถึงความต้องการความอิสระ ในการพึ่งพาตนเอง อิสระจากเมืองของคนธรรมดาสามัญ และอิสระจากการผสมผสานข้ามความ แตกต่างของคนกลุ่มอื่นๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีสถานภาพด้อยกว่า ความขัดแย้งที่น่าสนใจก็คือ ถึงแม้กลุ่มชนชั้นกลาง-สูงเหล่านี้เลือกอยู่ในสภาพแวดล้อมที่สามารถปิดกั้นตนเองออกจากชนชั้น ล่าง ในขณะเดียวกัน ก็ยังสมัครใจหยิบยื่นอาวุธให้ยามรักษาความปลอดภัยซึ่งเป็นตัวแทนของชน ชั้นล่างรายได้ต่ำเป็นผู้ควบคุมการเข้า-ออก และกำกับการสัญจรภายในพื้นที่ของตนเอง สมัครใจ ให้เจ้าหน้าที่ระดับเสมียนจัดการงานธุรการให้ รวมทั้งยินยอมให้แม่บ้านซึ่งมักจะเป็นกลุ่มคน “จาก อีกด้านของรั้ว” เป็นผู้ทำความสะอาด ซักรีด ทำอาหาร และเลี้ยงลูก ในขณะที่สมาชิกของชุมชน ล้อมรั้วเหล่านี้หวาดระแวงคนที่ด้อยสถานภาพกว่า แต่กลับไม่มีทางเลือกและต้องพึ่งพาคนเหล่านี้ ในชีวิตประจำวันของตนเป็นหลัก จนเกิดเป็นความสัมพันธ์สองขั้ว ระหว่างความพึ่งพาและการ หลีกเลี่ยง ความใกล้ชิดและความหวาดระแวง

อาจกล่าวได้ว่า ชุมชนล้อมรั้วตั้งใจให้เกิดการแยกตัวเองออกจากเนื้อเมืองใน 4 ลักษณะ ลักษณะ
แรก – แยกตัวอย่างชัดเจนด้วยรั้ว กำแพง หรือพื้นที่โล่งกว้างที่ตั้งใจให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่ เหมาะกับการเดินเท้า หากแต่เหมาะกับการใช้รถ
สอง – หากรั้ว หรือกำแพงไม่สามารถปิดกั้น อาณาเขตตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ ก็เสริมด้วยระบบรักษาความปลอดภัย
สาม -เน้นบรรยากาศภายในที่ตัดขาดจากสภาพแวดล้อมธรรมดาสามัญนอกรั้ว
และสุดท้าย – มีความเป็นอิสระ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ชุมชนล้อมรั้วทำทุกอย่างเพื่อที่จะแยกตัวออกจากภายนอก เช่น ด้วย การหันด้านหลังให้พื้นที่สาธารณะภายนอก ดังนั้น ถนนสาธารณะต่างๆ ของเมืองจึงเป็นเพียง เส้นทาง “ผ่าน” ของสมาชิกในชุมชนล้อมรั้วเหล่านี้เท่านั้นด้วยยานพาหนะส่วนตัว ในขณะที่การ เดินเท้าหรือการใช้ระบบขนส่งมวลชนบนถนนสายเดียวกันนั้นเป็นของชนชั้นอื่นๆ จนปัจจุบัน “คน เดินเท้า”จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของชนชั้นล่าง เพราะการเดินเท้าริมถนนเป็นสิ่งที่ชนชั้นที่สูงกว่า ไม่นิยมกระทำ ทั้งยังปกป้องกิจกรรมบนถนนเหล่านี้ไม่ให้รุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ปิดล้อมของตนเอง ด้วย

พื้นที่ภายในของชุมชนล้อมรั้วเหล่านี้ จึงเป็นพื้นที่ที่คนต้องปฏิบัติอย่างเดียวกันตามกฏระเบียบของ ชุมชน “พื้นที่สาธารณะ” ภายในชุมชนล้อมรั้วจึงไม่มีสภาวะ “ขึ้นและลง” ของปริมาณคนเดินตาม นิยามชีวิตสังคมเมืองบนถนนของ Jacobs (1961) ไม่มีการพบปะกันโดยบังเอิญของคนแปลก หน้า ไม่มีนิยามของความเถื่อนหรือความลี้ลับของการเดินทางไปในแต่ละเมืองโดยเฉพาะ ตามที่ บันทึกไว้โดย Maspero (1994) ชุมชนล้อมรั้วมีแต่กฏเกณฑ์ ข้อควรปฏิบัติ ข้อห้ามที่ป้องกันไม่ให้ เกิด “ความต่าง” ความต่างของสีบ้านหรือแบบประตู หน้าต่าง ความต่างของพืชพรรณในรั้วบ้าน เวลาไหนที่ใดที่จะส่งเสียงดังได้ ฯลฯ

ความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนล้อมรั้วและนอกรั้ว ดูเหมือนจะเป็นความสัมพันธ์แบบปฏิเสธ กล่าวคือ ในขณะที่นิยามตนเองว่าเป็นผู้เจริญ พัฒนาแล้ว หรือเหนือกว่า นัยยะที่ซ่อนไว้ก็คือการยัดเยียด นิยามที่ตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิงสำหรับผู้อื่นๆ ที่อยู่ภายนอก จึงปรากฏชัดเจนว่า เมื่อความแตกต่าง ถูกจัดการโดยการเลือกที่จะแยกตัวออกมาจากกลุ่มอื่นๆ ในเมือง ผลก็คือ ช่องว่างของความ แตกต่างนั้นกลับยิ่งเพิ่มมากขึ้น

ชุมชนเสมือนและรั้วในใจ
อย่างไรก็ดี ใช่ว่าปฏิกิริยาของคนในเมืองในการรับสภาพความแตกต่างหลากหลายของผู้อื่น จะ แสดงออกด้วยการแยกตัวออกโดยการสร้างรั้ว หรือกำแพงล้อมรอบแต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจาก เมืองมีกลไกการจัดการที่ซับซ้อนไปกว่านั้นมาก การยอมรับสภาพในหลายๆ ที่จึงอาจเป็นไปใน แบบอื่นที่อาจสังเกตุได้ยากกว่า เนื่องจากไม่ปรากฏขอบเขตของการกั้นแบ่งทางกายภาพแต่อย่าง ใด Sennet (1971) ได้ตั้งข้อสังเกตุไว้ว่า เมืองที่พบการผสมผสานของคนกลุ่มต่างๆ อย่างมีเอกภาพ จะก่อให้เกิดสภาวะของการอยู่ร่วมกันอย่างหนาแน่น ในกลุ่มคนประเภทเดียวกันอาจเกิด การรวมศูนย์ย่อยๆ ในสถานที่สำคัญทางศาสนา เช่นโบสถ์ วัด หรือมัสยิด และจะมีปฏิสัมพันธ์ข้าม กลุ่มกันตามสถานที่ที่เรียกว่าเป็น “จุดเชื่อมต่อ” (contact points) เช่น ร้านขายของ ร้านกาแฟ ฯลฯ หรืออื่นๆ ตามแต่บริบทอันซับซ้อนของกลุ่มคนเหลา่ นั้นจะกำหนดขึ้นมาโดยเฉพาะ

อย่างไรก็ตาม Sennet จุดประเด็นที่ว่า ความผสมผสานในลักษณะนี้แทบจะเป็นไปไม่ได้อีกแล้วใน ปัจจุบัน ผู้คนมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับโบสถ์ วัด หรือมัสยิดน้อยลงเรื่อยๆ “จุดเชื่อมต่อ” ที่เคยสาน สัมพันธ์ข้ามกลุ่มไม่สามารถดึงดูดผู้คนที่แตกต่างหลากหลายได้อีกต่อไป ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุของ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ หรือเทคโนโลยีของการกระจายข้อมูลข่าวสารแบบไร้สายและไร้ พรมแดน ที่อาจมีส่วนทำให้คนคล่องตัว มีอิสระต่อกัน และต้องการแยกตัวเป็นปัจเจกมากขึ้นตาม กลุ่มความสนใจที่ไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่ทางกายภาพเป็นตัวรองรับ แต่ผลลัพธ์ในภาพรวมก็คือ ผู้คนไม่พร้อมที่จะสร้างบรรยากาศการปฏิสัมพันธ์กันบ่อยๆ ในชีวิตประจำวันในเมืองอีกต่อไป ปัจจุบัน ความหลากหลายของคนกลุ่มต่างๆ ในเมือง ไม่สามารถสร้างปรากฏการณ์ชีวิตสังคมเมือง บนถนนตามอุดมคติของ Jacobs ได้อีกต่อไป กลายเป็น “ชุมชนเสมือน” (virtual communities) ที่ ประกอบไปด้วยกลุ่มคนอันหลากหลาย และถึงแม้ยังคงอยู่ร่วมในพื้นที่เดียวกัน แต่เฉพาะหน้ากลับ มีความสัมพันธ์ที่เฉยชา ไม่ใยดีต่อความแตกต่าง และที่มากไปกว่านั้น อาจมีพื้นที่เสมือนจริงอื่นๆ (virtual reality) ในอินเทอร์เน็ตที่มีกลุ่มคนที่ตนพบว่ามีความผูกพันด้วยมากกว่า เนื่องจากมีความ สนใจร่วมกันอน่างแท้จริง

Sennet กล่าวว่านี่เป็นปรากฏการณ์ที่น่าเศร้ายิ่ง ชีวิตในเมืองปัจจุบันนำไปสู่ความไม่รู้ร้อนรู้หนาว และไม่ใยดี มากไปกว่านั้น หลายกรณีที่การเมินเฉยและความไม่พยายามที่จะสื่อสารข้ามกลุ่มใน พื้นที่เดียวกัน ยังอาจนำไปสู่ความไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดอีกด้วย (Young, 1990) แต่กระนั้นก็ตาม ในหลายกรณีที่ความอดทนท่ามกลางความแตกต่าง สามารถสร้างให้เกิดปฏิสัมพันธ์ที่มี ความหมายได้ในที่สุด ทั้งนี้ ก็เนื่องจากเมืองเต็มไปด้วยความซับซ้อนและคนที่หลากหลายอุปนิสัย และบุคลิกนั่นเอง

ในชุมชนเสมือนเหล่านี้ ถึงแม้ว่ากลุ่มคนอันหลากหลายจะยังคงยึดใช้พื้นที่เดียวกัน ใช้ สาธารณูปโภคสาธารณูปการเดียวกัน ผู้คนเลือกที่จะดำเนินชีวิตประจำวันไปโดยที่ไม่แสดงออก ถึงอัตลักษณ์อันแตกต่าง อีกนัยหนึ่งคือ ยอมอยู่อย่างปะปน แต่หลบเลี่ยงการปะทะด้วยการแสดงตนว่าแตกต่างโดยการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าวันต่อวัน เพื่อคงสภาพที่ดูเหมือนเป็นกลางเอาไว้ให้ ได้มากที่สุดและนานที่สุด การอยู่ร่วมกันของชุมชนเสมือนเหล่านี้ อาจเป็นไปตามที่ Simmel (1903) กล่าวไว้ว่า เป็นรูปแบบของข้อตกลงอยู่ร่วมกันอย่างสันติด้วยการรักษาระยะห่างระหว่าง กันอย่างเหมาะสม

ชุมชนหลายแห่งที่อยูในพื้นที่เมืองชั้นใน มีลักษณะเช่นเดียวกับชุมชนเสมือนตามที่กล่าวไป ถึงไม่ พบร่องรอยของรั้วและกำแพงที่กั้นแบ่งอาณาเขตของชนกลุ่มน้อยออกจากกัน เสมือนว่าชีวิตที่ หลากหลายสามารถอยู่ร่วมกันอย่างผสมผสานกลมกลืนตามอุดมคติของ Sennet (1971) มีตรอก ซอกซอยที่ลัดทะลุทั่วถึงกันภายในโดยเชื่อมต่อกับถนนสายหลักภายนอกอย่างสะดวกและ หนาแน่น คนแปลกหน้าต่างถิ่นที่เดินเข้าไป แม้จะไม่ถูกต่อต้าน แต่มักเป็นที่สังเกตุและหวาดระแวง ความคิดแรกๆ ของชนกลุ่มน้อยในเมืองเหล่านี้ ส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าคนแปลกหน้าคือเจ้าหน้าที่ ของรัฐ ที่เข้ามาสำรวจเขตที่ เพื่อเวนคืน รื้อย้าย ไล่ที่ ในนามของการพัฒนา หรือการฟื้นฟูเมือง เท่านั้น

การเลือกที่จะอยู่ร่วมในพื้นที่เดียวกันด้วยความสงวนสถานะ การยอมรับความแตกต่างของ ค่านิยม ความคิด ความเชื่อ ทัศนคติ ด้วยความอดกลั้น ในอีกแง่หนึ่งอาจเป็นวิถีที่จำเป็นและ เหมาะสมที่สุดของชีวิตสังคมเมืองในปัจจุบัน การรักษาสมดุลของความคุ้นเคยและความแปลก หน้า ความใกล้ชิดและการปลีกตัว กลายเป็นส่วนสำคัญของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมในระดับต่างๆ ของผู้คนในพื้นที่สาธารณะ เป็นวิถีอันปรกติในเมืองซึ่งมีความละเอียดอ่อนเฉพาะตัว และไม่ สามารถสร้างให้เกิดเป็นกฏเกณฑ์มาตรฐานสากลที่ใช้กับทุกๆ เมืองได้

แนวคิดเรื่องการฟื้นฟูเมืองจึงเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และต้องรองรับความเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ได้ ตลอดเวลา เห็นได้ชัดเจนวา่ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของพื้นที่ ด้วยการสลาย “กำแพง” หรือ การเชื่อมต่อพื้นที่ภายในเมืองเข้าด้วยกันอีกครั้งผ่านสิ่งกีดขวางต่างๆ นั้น อาจไม่สามารถทำลาย “รั้ว” ในใจที่เกิดจากความหวาดระแวง และความไม่ใยดีต่อความแตกต่างระหว่างกลุ่มคน หรือเกิด จากทัศนคติของคนที่เลือกโดดเดี่ยวตัวเองออกจากผู้อื่นด้วยวิถีของเทคโนโลยีแม้จะอยู่ร่วมในพื้นที่ เดียวกันอยู่ดีก็ตาม นอกจากนั้น การใช้นโยบายของการพัฒนาเมืองโดยการผสมผสานประโยชน์ การใช้ที่ดิน เพื่อมุ่งหวังให้เกิดชุมชนอย่างหลากหลายในอุดมคติ อาจไม่เกิดผลสำเร็จเสมอไป การ ทำความรู้จักพื้นที่ผ่านการศึกษาภาคสนามที่มีคุณภาพ จะนำไปสู่ความเข้าใจต่อความซับซ้อนหลากหลาย ตลอดจนพลวัตของพื้นที่ และกลุ่มคนต่างๆ ในพื้นที่อย่างแท้จริง ทั้งนี้ เพื่อนำไปสู่การ สร้างสมดุลระหว่างความคุ้นเคยและความแปลกหน้าในชุมชนเสมือนที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่นั้นๆ บวกกับความจริงใจในการแก้ปัญหาของรัฐ อาจเป็นทางออกที่เหมาะสมในการสร้างแนวคิดของ การฟื้นฟูเมืองที่สามารถวิวัฒน์ไปตามพื้นที่และเวลาได้

 

 

บรรณานุกรม
– Jacobs, J. (1961). The Death and Life of Great American Cities, New York: Random House
– Kasemsook, A. (2003). Spatial Layout and Functional Patterns in Urban Area: A Case Study of Bangkok. Unpublished Ph.D.Thesis. London. University College London.
– Maspero, F. (1994). Roissy Express: A Journey through the Paris Suburbs, London: Verso. – Sennet, R. (1971). The Uses of Disorder: Personal Identity and City Life, London: Allen Lane.
– Simmel, G. (1903). The metropolis and mental life’ in Wolf, K.H. (ed.). (1950), New York: The Free Press. – Young, I.M. (1990). Justice and the Politics of Difference, Princeton, NJ: Princeton University Press.