การปฏิบัติให้เป็นไปตามการควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรมสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง

การปฏิบัติให้เป็นไปตามการควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรมสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง

ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

การควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรมกับกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง 

ตามที่ได้มีการใช้บังคับพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ.2543 และกฎกระทรวงกำหนด วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ.2549 ซึ่งได้กำหนดนิยาม “’สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง’ หมายความว่า วิชาชีพสถาปัตยกรรมที่ใช้ศาสตร์และศิลป์ในการออกแบบวางผังเพื่อสร้างสรรค์ องค์ประกอบและสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมือง ชุมชนเมือง ชุมชน และโครงการกลุ่ม อาคารที่มีการใช้งานประเภทเดียวกันหรือหลายประเภท รวมถึงการวางผังเพื่อกำหนดกิจกรรม พื้นที่ ขนาด ความหนาแน่น ความสูง ที่โล่งหรือที่ว่างระหว่างอาคาร และโครงสร้างระบบ สาธารณูปโภคและสาธารณูปการภายในพื้นที่ดังกล่าว”

ทั้งนี้ ข้อ 2(2) ในกฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ.2549 ยังได้ กำหนดให้วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ประกอบด้วยงานศึกษา โครงการ งานออกแบบ งานบริหารและอำนวยการก่อสร้าง งานตรวจสอบ และงานให้คำปรึกษา “เกี่ยวกับการวางผังสำหรับพื้นที่หรือกลุ่มอาคาร ดังต่อไปนี้

(ก) พื้นที่ที่มีการใช้บังคับผังเมืองรวมและจัดทำผังเมืองเฉพาะตามกฎหมายว่าด้วยการ ผังเมือง
(ข) พื้นที่ที่มีการจัดรูปที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่
(ค) พื้นที่ที่มีการจัดสรรที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน
(ง) พื้นที่อนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษา คุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
(จ) พื้นที่ในเขตเพลิงไหม้ตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือพื้นที่ที่มีภัยพิบัติ และอุบัติภัยตามที่กฎหมายกำหนด
(ฉ) นิคมอุตสาหกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ พื้นที่พัฒนาพิเศษตามที่กฎหมายกำหนด
(ช) กลุ่มอาคารที่ประกอบด้วยอาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคาร สาธารณะ อาคารสูง และอาคารพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่มี พื้นที่รวมกันตั้งแต่ 30,000 ตารางเมตรขึ้นไป”

ดังนั้น เพื่อให้พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ.2543 และกฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพ สถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ.2549 ตามรายละเอียดดังกล่าวมีผลในการใช้บังคับ จึงย่อมจำเป็นที่ ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามอำนาจหน้าที่ตามที่ได้ระบุไว้ในกฎหมาย ต่างๆ ดังนี้

(1) พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518
มาตรา 29 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518 ได้กำหนดให้ “เมื่อได้มี กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ณ ท้องที่ใดแล้ว ถ้าเจ้าพนักงานท้องถิ่นของท้องที่นั้น เห็นสมควรจะจัดให้มีการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะขึ้น หรือจะขอให้สำนักผังเมือง (หรือกรม โยธาธิการและผังเมืองในปัจจุบัน) เป็นผู้วางและจัดทำผังเมืองเฉพาะก็ได้” ดังนั้น เจ้าพนักงาน ท้องถิ่นหรือกรมโยธาธิการและผังเมืองหากจะดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองเฉพาะจะต้อง กำหนดให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม สาขาสถาปัตยกรรมผัง เมือง เป็นผู้วางและจัดทำผังเมืองเฉพาะ ตามที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ. 2543 และกฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ.2549

(2)พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ.2547
ผู้ดำเนินการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ตามที่ได้กำ หนดไว้ในมาตรา 35 แห่ง พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ.2547 ซึ่งได้แก่ สมาคม กรมโยธาธิการและผัง เมือง การเคหะแห่งชาติ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตลอดจนหน่วยงานของรัฐหรือนิติ บุคคลอื่นใดที่รัฐจัดตั้งขึ้นเพื่อการจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ หรือหน่วยงานของรัฐอื่นใดตามที่ กำหนดในกฎกระทรวง จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ.2543 และ กฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ.2549 ที่กำหนดให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง เป็นผู้วางและจัดทำผังแม่บท การจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่โดยมีรายละเอียดต่างๆ ตามที่กำ หนดในมาตรา 41 แห่ง พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อพัฒนาพื้นที่ พ.ศ.2547

(3)พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543
หมวด 2 แห่งพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 และกฎกระทรวงกำ หนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอนุญาตและการออกใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการ จัดสรรที่ดิน พ.ศ.2544 ได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการขออนุญาตจัดสรรที่ดิน ซึ่งผู้ที่มีความ ประสงค์จะจัดสรรที่ดินจะต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด หรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด สาขาแห่งท้อ งที่ที่ที่ดิน นั้น ตั้งอ ยู่ ดังนั้น ใ นก า ร พิจ ารณาอ อก ใบอนุญา ตจัดสรร ที่ดิน คณะกรรมการจัดสรรที่ดินจังหวัดจะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ.2543 และกฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ.2549 โดยให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง เป็นผู้วางและจัดทำแผนผัง การจัดสรรที่ดินโดยมีรายละเอียดต่างๆ ตามที่กำหนดในมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติการ จัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543

(4) พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535
มาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ได้กำหนด “ให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจัดทำ แผนปฏิบัติการเรียกว่า ‘แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม’ เพื่อปฏิบัติตามนโยบายและแผนการ ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ …” และ “ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามแผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม และ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปโดยบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนด…” ดังนั้น ส่วน ราชการที่เกี่ยวข้องต่างๆ จะต้องกำหนดให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ควบคุม สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง เป็นผู้ดำเนินการวาง จัดทำ และดำเนินการให้เป็นไปตาม แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่อนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตามที่ได้กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ.2543 และกฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ. 2549

(5)พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
หมวด 7 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ได้กำหนดถึงการที่เจ้าพนักงาน ท้องถิ่นจะเข้าไปดำเนินการปรับปรุง “เขตเพลิงไหม้” ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวเจ้าพนักงาน ท้องถิ่นจะต้องกำหนดให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม สาขา สถาปัตยกรรมผังเมือง เป็นผู้วางและจัดทำผังปรับปรุงเขตเพลิงไหม้ ตามที่พระราชบัญญัติ สถาปนิก พ.ศ.2543 และกฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ.2549 กำหนด นอกจากนี้ มาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ยังได้กำหนดให้ “ในกรณีที่การก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร มีลักษณะหรืออยู่ในประเภทที่ ได้กำหนดเป็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมวิชาชีพวิศวกรรม หรือเป็น วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถ้าวิศวกรหรือสถาปนิก ผู้รับผิดชอบในการนั้นตามที่ระบุในคำขอไม่เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม ควบคุมหรือวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมตามกฎหมายดังกล่าวแล้วแต่กรณี ให้เจ้าพนักงาน

ท้องถิ่นปฏิเสธไม่รับพิจารณาคำขอนั้น” ดังนั้น ในกรณีที่ได้มีการขออนุญาตก่อสร้างกลุ่มอาคาร ที่ประกอบด้วยอาคารขนาดใหญ่ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ อาคารสาธารณะ อาคารสูง และอาคาร พิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารที่มีพื้นที่รวมกันตั้งแต่ 30,000 ตารางเมตรขึ้นไป เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะต้องพิจารณาว่าสถาปนิกผู้รับผิดชอบตามที่ระบุในคำขอดังกล่าว เป็นผู้ ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง ตามที่ กำหนดในพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ.2543 และกฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรม ควบคุม พ.ศ.2549

(6)พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522
มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 ได้ กำหนด “ให้จัดตั้งการนิคมอุตสาหกรรมขึ้นเรียกว่า ’การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย’ เรียก โดยย่อว่า ‘กนอ.’…มีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

(1) การจัดให้ได้มาซึ่งที่ดินที่เหมาะสมเพื่อจัดตั้งหรือขยายนิคมอุตสาหกรรม…
(2) การปรับปรุงที่ดิน…เพื่อให้บริการตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน ของผู้ประกอบอุตสาหกรรม…เช่น การจัดให้มีถนน ท่อระบายน้ำ โรงบำบัดน้ำเสีย ไฟฟ้า ประปา และโทรคมนาคม เป็นต้น…”

นอกจากนี้ มาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้ “เขตพื้นที่ใดที่บุคคล ใดได้จัดสรรที่ดินเพื่อให้เป็นนิคมอุตสาหกรรม ถ้าได้ดำเนินการถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 37 แล้ว คณะกรรมการ (ในที่นี้หมายถึง คณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย) ด้วยความยินยอมของเจ้าของที่ดินอาจ ดำเนินการให้พื้นที่นั้นเป็นนิคมอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัตินี้ได้” นอกจากนี้มาตรา 39 ทวิ ยังได้กำหนดให้ “การจัดสรรที่ดินเพื่อให้เป็นนิคมอุตสาหกรรมตามมาตรา 39 ให้เป็นไปตาม กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการจัดสรรที่ดินของเอกชน แต่การอนุญาตซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการ (ในที่นี้หมายถึงคณะกรรมการควบคุมการจัดสรรที่ดินจังหวัด) ตามกฎหมายว่า ด้วยการนั้น ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ (คณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่ง ประเทศไทย) ตามพระราชบัญญัตินี้”

ดังนั้น ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมโดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ การดำเนินการของคณะกรรมการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยในการพิจารณาให้การ จัดสรรที่ดินของภาคเอกชนเป็นนิคมอุตสาหกรรมตามพระราชบัญญัติดังกล่าวนี้ จะต้อง กำหนดให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม สาขาสถาปัตยกรรมผัง เมือง เป็นผู้ดำเนินการวางและจัดทำแผนผังการจัดสรรที่ดินเพื่อให้เป็นนิคมอุตสาหกรรม หรือ แผนผังพื้นที่พัฒนาพิเศษอื่นๆ ตามที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ.2543 และ กฎกระทรวงกำหนดวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ.2549

 

การดำเนินการควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรม สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง

ดังนั้น ในการปฏิบัติให้เป็นไปตามการควบคุมวิชาชีพสถาปัตยกรรม สาขาสถาปัตยกรรม ผังเมือง โดยอาศัยอำนาจแห่งพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ.2543 และกฎกระทรวงกำหนด วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ.2549 ซึ่งคาบเกี่ยวกับการใช้บังคับพระราชบัญญัติอื่นๆ จำนวน 6 ฉบับได้แก่ พระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ.2518 พระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อ พัฒนาพื้นที่ พ.ศ.2547 พระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ.2543 พระราชบัญญัติส่งเสริมและ รักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และ พระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ.2522 รวมทั้งการดำเนินการตาม อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้แก่ กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมที่ดิน สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น การเคหะแห่งชาติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ฯลฯ จึงจำเป็นที่สภาสถาปนิก และสมาคมสถาปนิกชุมชนเมืองไทยจะต้องประสานความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าว เพื่อให้เกิดการปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติสถาปนิก พ.ศ.2543 และกฎกระทรวงกำหนด วิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ.2549 ได้อย่างถูกต้องต่อไป