Author: online@powerplus.co.th

ในหัวข้อ : “แนวทางการจัดเตรียมเอกสารเพื่อเลื่อนระดับวีชาชีพสถาปัตยกรรมผังเมือง” ในประเด็นการแนะแนวทางการจัดเตรียมเอกสารสำหรับผู้สนใจเลื่อนระดับวิชาชีพสถาปัตยกรรมผังเมือง และใช้เป็นโอกาสในการประชาสัมพันธ์ (ร่าง) เอกสารการกำหนดค่าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรมผังเมือง

ขอเชิญชวนสมาชิกสามัญเสนอรายชื่อ “อุปนายกคนที่ 1 สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทย วาระปี พ.ศ. 2566 – 2568” . ตั้งแต่วันนี้ – 30 มิถุนายน 2566

ในวันอาทิตย์ ที่ 18 ธันวาคม 2565 เวลา 8.30 – 14.00 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 3 อาคารสภาสถาปนิก

เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำมาตรฐานวิชาชีพ และการคิดค่าบริการวิชาชีพในงานสถาปัตยกรรมผังเมือง

สมาคมสถาปนิกผังเมืองไทยทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงและส่งเสริมกลุ่มของสถาปนิกและเหล่านักออกแบบเพื่อยกระดับวิชาชีพด้านสถาปัตยกรรมผังเมืองไปพร้อมกับการพัฒนาเมืองเพื่อคุณภาพชีวิตของผู้คนให้ดีขึ้น สถาปัตยกรรมผังเมือง คือ งานออกแบบโครงสร้างของเมือง พื้นที่สาธารณะ และงานสถาปัตยกรรมที่เชื่อมโยงในเรื่องของผังเมืองรวมและนโยบายเพื่อวางผังในเชิงพื้นที่เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน แต่ในปัจจุบันนั้นการพัฒนาหรืองานสถาปัตยกรรมนั้นส่วนใหญ่นั้นถูกมุ่งเน้นที่การพัฒนาเฉพาะพื้นที่และกลุ่มอาคารเป็นหลักทำให้ความเชื่อมโยงของเมืองนั้นถูกละเลย กลุ่มสถาปนิก นักวิชาการและเหล่านักออกแบบจึงเป็นส่วนสำคัญในการนำเสนอแนวทางในการพัฒนาเมืองไปในทิศทางที่ถูกต้องและควรจะเป็น การเสวนาครั้งนี้เป็นการนำเสนอแนวคิดการพัฒนาพื้นที่ผ่าน 5 ประเด็นที่เกิดขึ้นมหานครกรุงเทพฯในหัวข้อ "ข้อมูลถึงเมืองผู้(ไม่)มีสิทธิ์" ซึ่งจัดขึ้นเมืองวันที่ 12 พฤษภาคม 2565 เวลา 19:00 - 20:30 ผ่านเพจ นักข่าวพลเมือง TPBS, TUDA, CUURP, Urban Ally และดําเนินการเสวนา โดย ผศ.คมกริช ธนะเพทย์ อุปนายกฯฝ่ายยุทธศาสตร์ เพื่อร่วมกันนำเสนอแนะแนวทางการพัฒนาเมืองและส่งต่อแนวคิดนี้ไปถึงผู้ว่ากรุงเทพมหานครที่จะมีการเลือกตั้งจากประชาชนที่ใกล้เข้ามานี้ เพื่อให้ทุกคนรับรู้และมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นร่วมกัน เพื่อช่วยจุดประกายการสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเมืองอย่างมีส่วนร่วม

TUDA Showcase วันนี้ ขอพาทุกท่านเดินทางมาถึง จ.ขอนแก่น ไปชมผลงานตัวอย่างการประยุกต์ใช้แนวคิดการปรับปรุงพื้นที่สาธารณะมุมหนึ่งของเมือง โดยเฉพาะ “ทางเท้า” โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนในทุกภาคส่วน ในย่านกังสดาล จากโครงการ “กังสดาล ย่านเดินได้ Kungsadan Walkable Project” ย่านชุมชนติดกับรั้วมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่เต็มไปด้วยร้านอาหาร คาเฟ่ หอพัก และร้านค้าไลฟ์สไตล์ การเติบโตที่มาพร้อมกับการจราจรหนาแน่นขึ้นอย่างรวดเร็ว กังสดาลแห่งนี้กำลังต้องการวางทิศทางรูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป โดยเฉพาะการเชื่อมต่อการสัญจรในย่านที่ต้องการความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

สรุป (ร่าง) หลักเกณฑ์การกำหนดระดับความซับซ้อนของงานสถาปัตยกรรมผังเมือง เพื่อเลื่อนระดับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง โดยสมาคมฯ ร่างต่อเนื่องจากข้อบังคับสภาสถาปนิกว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมเเต่ละระดับ การออกใบอนุญาต การต่อใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การออกใบเเทนใบอนุญาต และการออกหลักฐานรับรองได้รับใบอนุญาต ( ฉบับที่ ๖) พ.ศ.๒๕๖๔

5 ธันวาคม 2564 วันคล้ายวันพระราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ